เคล็ดลับการเรียนรู้ Tech Stack ใหม่ : ฝึกอย่างไรให้เป็นเร็ว

20 February 2023

เคล็ดลับการเรียนรู้ Tech Stack ใหม่ : ฝึกอย่างไรให้เป็นเร็ว

 เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนที่เป็น Software Developer คงเคยมีประสบการณ์ที่ต้องเรียนรู้ Technology Stack ใหม่ๆ มาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นตอนเริ่มเรียน ตอนเริ่มทำงาน หรือแม้กระทั่งตอนเริ่มโปรเจกต์ใหม่หลังจากที่ทำงานมาสักพักแล้ว อาจจะทำให้เกิดคำถามตามมาว่า “นี่เราต้องเรียนรู้เยอะขนาดนี้ไปเรื่อยๆ เลยเหรอ ?”

 คำตอบก็คือ “ถูกต้อง” เราจะต้องทำความเข้าใจ Tech Stack ใหม่ไปเรื่อยๆ แต่ข่าวดีก็คือการเรียนรู้ Tech Stack ใหม่มันไม่ได้ยากขนาดนั้นถ้าเราใช้วิธีที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ (รู้สึกดีขึ้นแล้วใช่ไหมล่ะ) การเรียนรู้อย่างถูกวิธีจะทำให้เราเป็นคนที่เรียนรู้ได้ไวมากๆ

เราเลยอยากเขียนบทความนี้เพื่อแบ่งปันเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยทุกคนให้เรียนรู้ Tech Stack แต่ละตัวได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว

ถ้าพร้อมแล้วก็อย่ารอช้า เริ่มกันเลย!!

ตัวอย่างขั้นตอนการเรียนรู้ Tech Stack อย่างมีประสิทธิภาพ



  1. ระบุให้ชัดเจนถึงจุดประสงค์ที่ต้องการเอา Tech Stack ใหม่มาใช้

    ขั้นตอนแรกนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญสุดๆ เพราะถ้าเรามีเป้าหมายชัดเจน ก็จะสามารถเลือกเครื่องมือหรือ Tech Stack ได้อย่างเหมาะสมกับงานของเรา ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการเลือกเครื่องมือที่ผิด (ประหยัดเวลาไปอีก 🥰) ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น

    • Express เป็นเครื่องมือที่สร้างด้วยภาษา JavaScript ที่เอาไว้ใช้สร้าง Server และ API ฉะนั้นถ้าจะใช้ Express จุดประสงค์ก็ต้องใช้เพื่อประมวลผล Request และ Response ข้อมูลจากการ Query Database กลับไปให้ Client
    • FastAPI เป็นเครื่องมือที่สร้างด้วยภาษา Python มีจุดประสงค์เพื่อใช้สร้าง Server และ API เช่นเดียวกับ Express
  2. เชื่อมโยงความรู้พื้นฐานที่มีเข้ากับจุดประสงค์ของเครื่องมือที่กำลังศึกษา

    เมื่อเพื่อนๆ รู้ว่าจะใช้เครื่องมือ Tech Stack ทำอะไรแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ อยากให้เพื่อนๆ ทบทวนพื้นฐานของการสร้างเว็บไซต์กันก่อน เช่น Client & Server Architecture (การทำงานร่วมกันระหว่าง Server และ Client โดยทั่วไป) สำหรับใครที่เป็นสาย Front-end Developer ความรู้พื้นฐานที่ต้องมีก็คือ

    1. การ Render ตัว HTML Element บน Web browser
    2. การ Fetch ข้อมูลจาก Server มา Render บน Web browser
    3. การเก็บและอัปเดต State บนหน้าเว็บไซต์
    4. การสร้างฟอร์ม การเก็บและการอัปเดต State ของฟอร์มบนหน้าเว็บไซต์

    และความรู้อื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า (Customer Experience) หรือดูแลการแสดงผลบนอุปกรณ์ทั้งบนมือถือและคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

    หรือถ้าเป็น Back-end Developer ความรู้พื้นฐานที่ต้องมีก็จะเป็นอีกแบบที่แตกต่างจาก Front-end Developer ไม่ว่าจะเป็น

    1. การรับ Request จาก Client มาประมวลผล
    2. การส่งข้อมูลกลับไปหา Client เพื่อให้ Client นำไปประมวลผลต่อผ่าน Response
    3. การ Query Database
    4. การทำระบบการยืนยันตัวตน (Authentication)

    รวมถึงต้องรู้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมแบบต่างๆ เช่น Python, C#, Java, Ruby และ JavaScript เป็นต้น

    💡 แนะนำ

    ถ้าอยากรู้จักมากขึ้นว่า Front-end Developer และ Back-end Developer ทำงานแตกต่างกันอย่างไร เราแนะนำให้เพื่อน ๆ ลองอ่านบทความนี้ดูได้เลย

    เมื่อมีความรู้พื้นฐานตามที่เราบอกแล้ว ต่อมาก็ถึงเวลาเชื่อมโยง Concept พื้นฐานเข้ากับจุดประสงค์ของเครื่องมือ

    ยกตัวอย่างเช่น ก่อนหน้านี้ที่เรายกตัวอย่างว่า ทั้ง Express และ FastAPI ต่างก็เป็นเครื่องมือที่เอาไว้ใช้สร้าง Server และ APIs ดังนั้นเครื่องมือทั้งสองอย่างนี้จะมีคอนเซ็ปต์พื้นฐานหลายๆ อย่างที่เหมือนกัน (พอเรารู้แบบนี้แล้ว ถ้าเรารู้วิธีการใช้เครื่องมืออันหนึ่ง ก็จะทำให้เราศึกษาอีกอันได้ไวขึ้นกว่าเดิมมากๆ อย่างแน่นอน)

    💡 แนะนำ

    ในขั้นตอนนี้ ถ้าเรายังไม่เข้าใจคอนเซปต์พื้นฐานของเครื่องมือ แสดงว่าเราอาจจะยังไม่เคยเรียนคอนเซ็ปต์พื้นฐานเหล่านั้นมาก่อน ถ้าเป็นเช่นนั้นขอแนะนำว่าอาจจะต้องหาวิธีเรียนรู้เพิ่มเติม ซึ่งสามารถลองอ่านจากบทความนี้ได้เลย

  3. ทดลองใช้งานเบื้องต้น โดยการอ่าน Doc ของเครื่องมือนั้นๆ เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานหรือคอนเซ็ปต์ที่สำคัญเท่านั้น

    🔑 เทคนิคการอ่าน Doc คือ ให้เราเริ่มดูในส่วน “Quick Start” แล้วลองดูในส่วน “Tutorial” หรือบาง Doc ก็อาจมีส่วนของ “Learn …” ซึ่งคือส่วนที่สอนการใช้งานเครื่องมือ (แนะนำว่าตรงนี้ไม่ควรใช้เวลานานจนเกินไป)

    🔴 ข้อควรระวัง

    การหา Tutorial ดูแบบละเอียดยิบ หรืออ่าน Doc แบบละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบ โดยที่ไม่ได้ลองลงมือทำจริงๆ จะทำให้เราไม่สามารถใช้งานเครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อทำความเข้าใจคอนเซ็ปต์พื้นฐานแล้ว ก็อย่าลืมลองใช้เครื่องมือกันด้วยนะทุกคน

  4. ใช้เทคนิค Problem Solving Skill

    🔑 Problem Solving Skill คือกุญแจวำคัญที่จะทำให้เราเรียนรู้การใช้งานเครื่องมือต่างๆ ได้ไวแบบเดอะแฟลช

    ก่อนจะแก้ปัญหาอะไรก็ตาม ให้ลองคิดก่อนว่าโจทย์ที่เราได้รับมามีเป้าหมายอะไรบ้าง มีขั้นตอนอะไรบ้างที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายนั้นๆ และเครื่องมือที่เราศึกษามาจะช่วยให้เราทำขั้นตอนนั้นได้อย่างไรบ้าง

    💡 Doc บางอันจะมีตัวอย่างโค้ดที่ใช้เครื่องมือไปแก้ไขโจทย์ต่างๆ ให้เลย ซึ่งเราอาจจะไปเรียนรู้จากตรงนั้นเลยก็ได้ ซึ่งจะทำให้เราเรียนรู้ได้ไวขึ้น แล้วทำงานได้ไวขึ้นเช่นกัน

สรุป


✅ Do (ควรทำ++)

  • ทำความเข้าใจเครื่องมือใน Tech Stack นั้นๆ ในขั้นพื้นฐาน

  • เชื่อมโยงคอนเซ็ปต์พื้นฐานของการพัฒนาเว็บไซต์เข้ากับจุดประสงค์ของเครื่องมือใน Tech Stack

  • ทำความเข้าใจโจทย์ และใช้เทคนิค Problem Solving Skill โดยการนำเครื่องมือมาลองใช้งาน

🔴 Don’t (อย่าทำ!!)

  • นั่งดู Tutorial ของเครื่องมือนั้นๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ

  • นั่งอ่านข้อมูลทุกอย่างใน Doc ไม่ลองลงมือทดลองใช้งานเครื่องมือที่เราจะศึกษาก่อน

ก่อนจะจากกันไป ทาง TechUp มีหลักสูตร Full-Stack Software Development Bootcamp สำหรับคนที่ต้องการทำงานในสายนักพัฒนามาแนะนำ โดยหลักสูตรนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมในทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานภายในระยะเวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น พร้อมกับมีการันตีการช่วยหางานหลังเรียนจบอีกด้วย สนใจอ่านรายละเอียดคอร์สของเราได้เลยที่นี่

ดูทั้งหมด
techup logo

TechUp เป็นสถาบันออนไลน์ที่จัด Bootcamp และคอร์สต่างๆ สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นหรือพัฒนาตนเองในสายงานด้านเทคโนโลยี ภารกิจของเราคือการขยายโอกาสการเข้าถึงอาชีพเหล่านี้ ให้เปิดกว้างและเท่าเทียมมากขึ้นในสังคมไทย และเร่งการพัฒนาวงการเทคโนโลยีของประเทศไปพร้อมกัน

© Copyright 2025 TechUp Training Company Limited

ข้อกำหนดและเงื่อนไข

นโยบายความเป็นส่วนตัว

นโยบายการใช้งานคุกกี้