มารู้จักกับ JavaScript ภาษาสารพัดประโยชน์แห่งโลกนักพัฒนาซอฟต์แวร์
1 March 2022
มารู้จักกับ JavaScript ภาษาสารพัดประโยชน์ที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ทุกคนควรรู้
ภาษา JavaScript คือภาษาสคริปต์ทางคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่นักพัฒนาโปรแกรมทั่วโลก ด้วยคุณสมบัติที่สามารถนำมาสร้างได้ทั้ง Website และ Web Application รวมถึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในฝั่ง Client และ Server เป็นอย่างที่ทุกคนทราบว่าความสำคัญของ JavaScript ดูจะมีไม่สิ้นสุดและมีแนวโน้มถูกนำไปใช้จนก่อเกิดเป็นกรณีการใช้งานใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ที่มาที่ไปของมัน รวมถึงปกตินักพัฒนาใช้โปรแกรมอะไรในการเขียน และภาษาสคริปต์ชนิดนี้นำไปทำอะไรได้อีกบ้าง ในบทความชิ้นนี้ ทาง TechUp จะขออาสาพาทุกคนไปดูกัน
JavaScript คืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร
ก่อนอื่น อย่าเข้าใจผิด JavaScript คือคนละภาษากับ Java และ JScript!!!
ภาษา JavaScript ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1994 โดยฝีมือของโปรแกรมเมอร์ชาวอเมริกันที่ชื่อว่า Brendan Eich อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของบริษัท Netscape และได้รับการเปิดตัวครั้งแรกในปีถัดมาในชื่อ LiveScript อย่างไรก็ตาม ในทีแรก JavaScript ถูกมองว่าเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนและไม่น่าหยิบมาใช้งาน
จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่เกิดขึ้นในปี 1997 หลังจากที่ EMCA International เล็งเห็นปัญหาของการที่บริษัทฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ทั่วโลกต่างพัฒนาระบบการทำงานในแบบฉบับของตนเองจนไม่สามารถอ่านข้อมูลข้ามกันได้ ในเวลานั้น EMCA ยื่นมือเข้ามาสร้างข้อกำหนดมาตรฐานให้กับภาษาสคริปต์ใหม่เพื่อให้องค์กรที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ นำไปใช้งานได้ดีขึ้น เกิดเป็นมาตรฐาน ECMAScript ที่มีรากฐานการใช้งานของ JavaScript เป็นพื้นฐานอยู่ในนั้นด้วย โดย ECMAScript มีการปรับปรุงและปล่อยมาตรฐานการใช้งานภาษาสคริปต์คอมพิวเตอร์อยู่เรื่อย ๆ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันกว่าหลายเวอร์ชัน ซึ่ง JavaScript เองที่ถูกจัดเป็นภาษาสคริปต์ก็ต้องพัฒนาตัวเองเพื่อให้ตรงกับมาตรฐานของ EMCA เรื่อยมา หลายปีผ่านมา จากเดิมที่ JavaScript ถูกใช้แค่ในการทำเว็บไซต์เพื่อสร้างความ Interactive ให้กับ HTML/CSS ก็ถูกขยายขอบเขตการใช้งานไปสู่โลกของการพัฒนาแอปพลิเคชั่น, Back-end development หรือแม้แต่ในเรื่องของ Machine Learning จนได้รับความนิยมอย่างปัจจุบัน
ความโดดเด่นของ JavaScript
เหตุผลที่ทำให้ JavaScript เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ สามารถสรุปได้ ดังนี้
เขียนโปรแกรมได้ครบวงจรทั้งฝั่งหน้าบ้านและฝั่งหลังบ้าน
Node.js ทำให้การพัฒนาเว็บไซต์และแอปฯ ของฝั่ง Back-end ด้วย JavaScript กลายเป็นเรื่องง่าย ทุกวันนี้ เราสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาจาวาสคริปต์แล้วนำไปรันบนระบบปฏิบัติการที่สนับสนุนโดย Node.js ได้เลยทันที ภาษา JavaScript จึงกลายเป็นภาษาเดียวที่หยิบมาใช้งานได้อย่างครอบคลุมทั้ง Client Side และ Server Side
ไลบรารีและเฟรมเวิร์ค
เหล่าเฟรมเวิร์ค (Pre-Written Code) และไลบรารีที่มีอยู่มากมายสามารถนำไปปลั๊กอินเข้ากับกับโค้ดของโปรเจกต์ที่เหล่านักพัฒนาต้องการสร้างได้ตามสะดวก สิ่งนี้ทำให้การสร้างเว็บและแอปฯ ทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นและช่วยลดโอกาสการเกิดความผิดพลาดในการเขียนโค้ดจากภาษา JavaScript ได้
ติดตั้งง่ายและมีการใช้งานที่แพร่หลายมากกว่าภาษาสคริปต์อื่น
ทุกวันนี้ไม่ว่าจะบราวเซอร์ไหนก็รองรับการทำงานของภาษา JavaScript ทั้งนั้น หากเป็นภาษาอื่นๆ เราอาจจะต้องดาว์นโหลดภาษาสคริปต์เหล่านั้นลงในเครื่องเพื่อให้สามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์พัฒนาเว็บได้ แต่ JavaScript ไม่จำเป็น ข้อดีตรงนี้ช่วยลดความยุ่งยากในขั้นตอนการโค้ดไปได้มาก
JavaScript ใช้ทำอะไรได้บ้าง
JavaScript ถูกนำไปใช้งานหลัก ๆ ดังนี้
- ใช้เพิ่มความ Interactive (มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน) ให้กับหน้าเว็บไซต์
JavaScript สามารถใช้ในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานในลักษณะต่างๆ เพื่อเพิ่มลูกเล่นในการใช้งานได้ เช่น ใช้เพิ่มการเคลื่อนไหวให้กับ Element มากมายบนหน้าใช้งาน การเล่นเสียงหรือวีดิโอ หรือแม้แต่การตั้งค่าให้ปุ่มต่างๆ เปลี่ยนรูปแบบเมื่อเลื่อนเมาส์ไปโดน
- พัฒนาเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันบนมือถือ
ทุกวันนี้นักพัฒนาโปรแกรมสามารถเลือกใช้เฟรมเวิร์ค Pre-Written Code บน JavaScript Code Libraries ในการสร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้เลย ไม่ต้องนั่งโค้ดโครงสร้างใหม่เองแบบนับจากศูนย์ สิ่งนี้ที่มาพร้อมกับการเขียน JavaScript เพิ่มความสะดวกให้กับนักพัฒนาได้มากทีเดียว ตัวอย่างของ Front-end Framework ที่คนนิยมใช้ในการเขียนเว็บและโมบายแอปกัน ได้แก่ React, React Native, Angular และ Vue
- สร้างและพัฒนาเว็บไซต์เซิร์ฟเวอร์ รวมถึงแอปเซิร์ฟเวอร์
JavaScript คือภาษาที่สามารถใช้ทำงานได้ทั้งฝั่งหน้าบ้าน (Front End) และหลังบ้าน (Back End) ดังนั้นแล้วนอกเหนือจากเว็บไซต์และแอปฯ นักพัฒนายังสามารถใช้ JavaScript เพื่อสร้างเว็บเซิร์ฟเวอร์อย่างง่ายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแบ็คเอนด์โดยใช้ Node.js ได้ด้วย
- พัฒนาเกม
รู้ไหมว่าเกมดังอย่าง TowerBuilding และ Polycraft เองก็ใช้ JavaScript ในการเขียนขึ้นมาเหมือนกัน เนื่องจาก JavaScript สามารถสร้างอนิเมชันรวมถึงการตอบสนองกับผู้ใช้บนหน้าเว็บได้ ดังนั้น นักพัฒนาเกมหลายคนจึงเลือกใช้ JavaScript ในการสร้างเกมของพวกเขา นอกจากนี้ เพราะเป็นภาษาที่มีฟังก์ชันคำสั่งครบถ้วนและง่ายกว่าภาษาอื่น การสร้างเกมจาก JavaScript จึงเหมาะเป็นอีกทางเลือกสำหรับการเรียนรู้วิธีเขียนโค้ดแบบเบื้องต้นสำหรับเด็กและผู้ใหญ่บางคนที่พื้นฐานยังไม่แข็งมาก
โปรแกรมแนะนำสำหรับการเขียน JavaScript
ข้อดี ติดตั้งฟรี ใช้ทรัพยากรน้อย ใช้งานได้กับหลาย OS รองรับการปลั๊กอิน และมีเครื่องมือในการช่วยเขียนโค้ดที่หลากหลาย
ข้อดี ติดตั้งฟรี เปิดการใช้งาน Git จาก GitHub ได้สะดวก สามารถเปิดหน้าอีดิทโค้ดดิ้งควบคู่ไปกับหน้าโปรเจกต์ในหน้าต่างเดียวกันได้เลย รองรับการปลั๊กอินกับ Node.js, HTML, CSS และ JS
ข้อดี ติดตั้งฟรี ฟีเจอร์ในการจัดการโปรเจกต์ที่ครบครันเหมาะสำหรับคนที่เป็น Full-stack Developer มีฟังก์ชัน Debugging และ Autocomplete ที่โดดเด่น และโปรแกรมขึ้นชื่อเรื่องความเสถียร
ข้อดี ใช้ง่าย ไม่ต้องดาวน์โหลด สามารถเขียนได้เลยทันทีบนบราวเซอร์ เหมาะกับคนที่อยากทดลองเขียนโค้ด มาพร้อมโครงสร้างอื่น ๆ ที่จะช่วยในฝั่ง Front-end คือโค้ด HTML และ CSS ไปได้พร้อมกันในหน้าเดียว
เว็บไซต์กว่า 90% บนโลกมีการใช้ JavaScript เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างตัวระบบหลังบ้าน รู้อย่างนี้แล้ว ใครที่สนใจอยากรู้เรื่องนี้เพื่อต่อยอดโอกาสทางอาชีพให้กับตัวเองเพิ่ม ทาง TechUp ก็มีคอร์สสำหรับคนที่ต้องการจะเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ชนิดลงลึกครบทุกทักษะ โดยในเรื่องของ JavaScript เราจะสอนให้ทุกคนรู้จักกับคําสั่ง JavaScript ทั้งหมด รวมไปถึงโครงสร้างภาษา JavaScript และวิธีการนำไปใช้งานจริง ให้ผู้เรียนพร้อมรับการทำงานในสนามจริงได้ทันทีหลังเรียนจบหลักสูตร โดยเริ่มต้นจ่ายเพียง 4,000 บาท ก็ปลดล็อกคอร์สไปเรียนกันได้ทันที หากรู้สึกสนใจลองดูรายละเอียดคอร์สของเราได้เลยที่นี่ -FIN-
บทความที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด